ปี พ.ศ.2534

เปิดใช้งานเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม


ปี พ.ศ.2535

ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างบ้านพักราชการระดับ 1-2 จำนวน 1 หลัง เมื่อวันที่ 11 พฤษจิกายน นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม เดินทางมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบึงสามพัน แทน นายแพทย์พงศ์พิชญ์ วงศ์มณี ซึ่งเดินทางไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลหล่มสัก


ปี พ.ศ.2533

ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างบ้านพักข้าราชการระดับ 1-2 จำนวน 1 หลัง


ปี พ.ศ.2533

ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ในเดือนเมษายน นายแพทย์พงศ์พิชญ์ วงศ์มณี เดินทางมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลบึงสามพัน แทน นายแพทย์กิติ แสงจันทร์ ซ่งขณะนั้นมีจำนวนข้าราชการอยู่จำนวน 27 คน ลูกจ้าง 12 คน


ปี พ.ศ.2529

เมื่อวันที่ 29 มกราคม ฯพณฯ มารุต บุญนาค ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุข ได้เดินทางมาเป็นพิธีเปิดโรงพยาบาลบงสามพันอย่างเป็นทางการ


ปี พ.ศ.2531

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ โรงพยาบาลบึงสามพัน ได้เจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ และจากความศรัทธาของประชาชนชาวอำเภอบงสามพัน ตึกพิเศษ คือ ตึกรัชมังคลาภิเษกได้ทำการก่อสร้างขึ้นได้โดยมิได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด ซึ่งในครั้งนี้ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธารณสุข ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดตึกรัชมงคลาภิเษก


ปี พ.ศ.2528

เปิดเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง อย่างไม่เป็นทางการเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม โดยมีนายแพทย์กิติ แสงจันทร์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พร้อมกับเจ้าหน้าที่เริ่มต้น คือ ข้าราชการจำนวน 4 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน ซึ่งได้รับเงิน เดือนโดยเงินบริจาค อาคารของโรงพยาบาลขณะนั้นมี จำนวน 6 หลัง เป็นตึก อำนวยการหนึ่งหลัง บ้านพักข้าราชการระดับ 5-6 จำนวน 1 หลัง บ้านพักข้าราชการระดับ 3-4 จำนวน 2 หลัง บ้านพักข้าราชการระดับ 1-2 จำนวน 1 หลัง โรงซักฟอกจำนวน 1 หลัง ในช่วงเวลาเริ่มต้นนั้นโรงพยาบาลบึงสามพันยังขาดวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นอยู่มาก แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวตลาด และชาวอำเภอบึงสามพัน ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือ จงทำให้โรงพยาบาลบึงสามพัน ได้มีวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ในการช่วยบำบัดโรคภัยให้แก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยต่อไป